วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก
นิยาม    กำหนดให้ a, b เป็นจำนวนเต็ม , ≠oหรือ ≠o ,  ตัวหารร่วมมาก (..., greatesr common division : gcd  )ของ a และ b  คือจำนวนเต็มบวก d จำนวนเดียวเท่านั้นที่ใหญ่ที่สุดซึ่งมีคุณสมบัติว่า d | a  และ  d | b
ต่อไปจะเขียนแทน ห... ของ a และ b ด้วยสัญลักษณ์ gcd (a , b)

ตัวอย่าง  จงหาห... ของ 24 และ 36
วิธีทำ
                ตัวหารร่วมของ 24 และ 36 คือ 1, 2, 3, 4, 6 และ 12
                ดังนั้น gcd(24, 36) = 12

ตัวอย่าง  จงหาห... ของ 17 และ 22
วิธีทำ
                ตัวหารร่วมของ 17 และ 22 คือ 1
                ดังนั้น gcd (17, 22) = 1

นิยาม จำนวนเต็ม a และ b จะเรียกว่า relatively prime ถ้า ห... ของ a และ b คือ 1

ตัวอย่าง  
เนื่องจาก  gcd(17, 22) = 1
ดังนั้น 17 และ 22 เป็น relatively prime

นิยาม จำนวนเต็ม a1, a2, … anจะเรียกว่า pairwise relatively prime ถ้า gcd(ai , aj) = 1

ตัวอย่าง  จงตรวจสอบว่า 10, 17, 21 เป็น pairwise relatively prime หรือไม่
เนื่องจาก  gcd(10, 17) = 1, gcd(10, 21) = 1, gcd(17, 21) = 1
ดังนั้น 10, 17 และ 21 เป็น pair wise relatively prime



การหา ห...
                a  =  p1a1 p2 a2…pn an     , b = p1b1 p2 b2…pn bn
ดังนั้น
                gcd(a, b) = p1min(a1, b1) p2 min(a2,b2)…pn min(an, bn)

 ตัวอย่าง จงหา หรมของ 120 และ 500
\120 = 23.3 .5 และ 500 = 22.53
                ดังนั้น gcd (120, 500) = 2min(3,  2) 3 min(1, 0)…5 min(1, 3) = 223051 = 20

นิยาม     กำหนดให้ a, b เป็นจำนวนเต็ม , ao หรือ bo ตัวคูณร่วมน้อย  (... , least common multiple :  lcm ) ของ a และ b คือจำนวนเต็มบวก m ที่เล็กที่สุดจำนวนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีคุณสมบัติว่า a | m   และ  b | m
ต่อไปจะเขียนแทน ค... ของ a และ b ด้วยสัญลักษณ์  lcm (a , b)
ถ้ากำหนด
a  =  p1a1 p2 a2…pn an     , b = p1b1 p2 b2…pn bn
ดังนั้น
                lcm(a, b) = p1max(a1, b1) p2 max(a2, b2)…pn max(an, bn)

ตัวอย่าง  จงหา ค...ของ  23.35 .72 และ 24.33
                ดังนั้น lcm (23.35 .72 ,  24.33) = 2max(3,  4) 3 max(5, 3)…7 max(2, 0) = 243572

 ขอขอบคุณ staff.buu.ac.th/~seree/310213/chap05.doc

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแยก อัลกอริทึม

Division Algorithm
ทฤษฎี (Division Algorithm) ถ้า a และ d  เป็นจำนวน ซึ่ง d  > 0 แล้ว แล้วมีจำนวนเต็ม q และ r คู่หนึ่งและคู่เดียวเท่านั้น  ซึ่งมีคุณสมบัติว่า
                                a =  dq + r       ,    0  r < d
                      (ในที่นี้การพิสูจน์จะเว้นไว้)
หมายเหตุ  จากทฤษฎี  ซึ่งได้กล่าวว่า สำหรับทุกๆ a,d  Z , d > 0 จะมี q,r  Z  ซึ่งมีคุณสมบัติว่า 
 a = dq + r   , 0 r < d
                เราเรียก  a  ว่า ตัวตั้ง(dividend)
                เรียก  d ว่า  ตัวหาร(divisor) ในการหาร a ด้วย d
                เรียก  q ว่า  ผลตัวหาร(quotient) ในการหาร a ด้วย d
                และเรียก ว่า เศษ (remainder)    ในการหาร a ด้วย d

         เราจะเห็นได้ชัดว่า  d เป็นตัวหารที่ลงตัว  ของ a  ก็ต่อเมื่อเศษในการหาร  a  ด้วย  d เท่ากับ 0
                ถ้าทั้ง a และ d เป็นจำนวนเต็มบวกทั้งคู่  แล้วผลหาร และเศษในการหาร a ด้วย  d  อาจจะหาได้โดยวิธีการหารยาวในทางเลขคณิต

ตัวอย่าง  จงหาผลหารและเศษจาการหาร 101 ด้วย 11
วิธีทำ
                101= 11. 9  + 2
                ดังนั้นเศษคือ 2 และผลหารคือ 9
ตัวอย่าง  จงหาผลหารและเศษจาการหาร -11 ด้วย 3
วิธีทำ
                -11= 3(-4)  + 1
                ดังนั้นเศษคือ 1 และผลหารคือ -4
 ข้อสังเกตุ เศษที่เหลือจากการหารจะไม่เป็นจำนนวนลบ จากตัวอย่างข้างต้น เศษที่เเหลือจากการหารจะไม่เป็น -2 ถึงแม้ว่า -11 = 3(-3) - 2 เนื่องจาก r = -2 จะไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กล่าวว่า
 0 r < 3
ขอขอบคุณ staff.buu.ac.th/~seree/310213/chap05.doc

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การหารที่ลงตัว และ Division Algorithm

นิยาม  สำหรับทุกๆ a , bเป็นจำนวนเต็ม  ซึ่ง a ≠ 0ในกรณีที่ a เป็นตัวหารที่ลงตัวหรือ แฟกเตอร์ ของ b  เราอาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า
                                a หาร b ได้ลงตัว                                
                                b หารด้วย a  ได้ลงตัว
                                b เป็น multiple ของ a
                สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทน ” a เป็นตัวหารที่ลงตัวของb “ เรานิยมเขียนแทนด้วย a | b และในกรณีที่ a ไม่เป็นตัวหารที่ลงตัวของ b  เราเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ a \/ b
                จะสังเกตว่าจากนิยาม ตัวหารที่ลงตัวจะต้องไม่เท่ากับ 0 เสมอ ดังตัวอย่าง ถ้าเราเขียนว่า
x | y    เป็นที่เข้าใจกันว่า ≠ 
ทฤษฎี  ให้ a , c และ b เป็นจำนวนเต็มใด ๆ จะได้
1.        ถ้า a | b และ a | c แล้ว a | (b + c)
2.        ถ้า a | b แล้ว a | bc สำหรับจำนวนเต็มใด ๆ
3.        ถ้า a | b และ b | c แล้ว a | c
พิสูจน์    1.
                สมมุติให้  a | b และ a | c
                ดังนั้นจากนิยามของการหารลงตัวจะได้ว่ามีจำนวน s และ t ซึ่งทำให้  b= as และ c = at
                  b + c = as + at = a (s + t)
                นั่นคือ  a | (b + c)
ข้อ 2 และ 3 ให้เป็นแบบฝึกหัด

นิยาม     ให้ p เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ ซึ่ง p > 1 จะเรียกว่าจำนวนเฉพาะ(prime)ก็ต่อเมื่อแฟกเตอร์ของ p คือ  1 และ p เท่านั้น และจะเรียกจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 และไม่เป็นจำนวนเฉพาะว่า composite
ตัวอย่าง  7 เป็นจำนวนเฉพาะ
                9 เป็น composite เนื่องจากหารด้วย 3 ลงตัว
ขอขอบคุณ staff.buu.ac.th/~seree/310213/chap05.doc