วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

การ บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน

1. การบวกลบเศษส่วน 
    1.1 เศษส่วนชนิดเดียวกัน ให้เอาเศษมาบวกลบกันได้เลย ส่วนส่วนมีค่าคงเดิม
    1.2 เศษส่วนที่มีส่วนไม่เท่ากัน ทำเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนชนิดเดียวกันก่อน แล้วจึงนำเศษส่วนมาบวกลบกันเหมือนวิธี 1.1


2. การแปลงเศษส่วน 
    การแปลงเศษส่วน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเศษส่วนจากชนิดหนึ่งไปเป็นเศษส่วนอีกชนิอหนึ่ง โดยที่ค่าเศษส่วนชุดเดิมนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเช่นเศษส่วนเกินเป็นเศษส่วนคละหรือการแปลงเศษส่วนคละให้เป็นเศษ ส่วนเกิน เป็นต้น
    ตัวอย่าง จงแปลง 5/3 เป็นเศษส่วนจำนวนคละ

วิธีทำ
3. การขยายเศษส่วน การขยายเศษส่วน เป็นการแปลงเศษส่วนอีกลักษณะหนึ่ง โดยให้จำนวนเลขที่เป็น เศษส่วนมีจำนวนมากกว่าเดิม แต่ค่าของเศษส่วนชุดเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

4. การทอนเศษส่วน 
    การทอนเศษส่วน คือ การแปลงเศษส่วนที่ทำให้ตัวเลขทั้งเศษและส่วนน้อยลง โดยค่าของเศษส่วนนั้นไม่เปลี่ยนแปลง 
5.การคูณเศษส่วน 
5.1 จำนวนเต็มคูณเศษส่วน หมายถึง การบวกเศษส่วนที่มีค่าเท่าๆกันหลายๆค่า เช่น 
5.2 เศษส่วนคูณจำนวนเต็ม หมายถึง เศษส่วนของจำนวนเต็ม  เช่น 
5.3 เศษส่วนคูณเศษส่วนหมายถึงการแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกันว่ามีค่าเป็นเศษส่วนเท่าไรของทั้งหมด  เช่น 
6. การหารเศษส่วน 
    6.1 การหารจำนวนเต็มด้วยเศษส่วน หมายถึง การแบ่งจำนวนเต็มออก เป็นส่วนย่อยเท่าๆกันจะได้กี่ส่วน
    6.2 การหารเศษส่วนด้วนจำนวนเต็ม หมายถึง การแบ่งเศษส่วนที่มีอยู่ออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
    6.3 การหารเศษส่วนด้วนเศษส่วน หมายถึง การแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกัน หาคำตอบได้จากการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งกับส่วนกลับของเศษส่วนที่เป็นตัวหาร  เช่น 





วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีความน่าจะเป็น


ทฤษฎีความน่าจะเป็น คือการศึกษาความน่าจะเป็นแบบคณิตศาสตร์
นักคณิตศาสตร์จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ "เหตุการณ์" (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น P(E) ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ E ตามสัจพจน์ของความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ E จะเกิดขึ้น เมื่อ กำหนด ให้อีกเหตุการณ์ F เกิดขึ้น เรียกว่าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข ของ E เมื่อให้ F โดยค่าความน่าจะเป็นคือ  (เมื่อ P(F) ไม่เป็นศูนย์) ถ้าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ E เมื่อให้ F มีค่าเช่นเดียวกับความน่าจะเป็น (แบบไม่มีเงื่อนไข) ของ E เราจะกล่าวว่าเหตุการณ์ E และ F เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันเชิงสถิติ เราจะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์สมมาตร ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นอิสระต่อกันนี้เขียนแทนได้เป็น .
แนวคิดหลักของทฤษฎีความน่าจะเป็นคือตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น โปรดดูบทความหลักสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ทฤษฎีความน่าจะเป็นมีหลายแนวคิด แนวคิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในสาขาปัญญาประดิษฐ์ และเศรษฐศาสตร์คือ ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

เรขาคณิตแบบยุคิด


เรขาคณิตสมัยแรกเริ่ม
             คำว่าเรขาคณิต แปลมาจากคำว่า Geometry ซึ่งมาจากคำว่า Geometrien เป็นภาษากรีกที่ได้มาจากการผสมคำว่า geo แปลว่าโลกและ metrien แปลว่าการวัด เหตุที่ชื่อดังกล่าว  เนื่องมาจากเราขาคณิตมีต้นกำเนิดมาจากการวัดพื้นโลกชนชาติที่มีความรู้ทางเรขาคณิตมาแต่โบราณ ได้แก่ ชาวแบบิลอน ฮินดู จีน อียิปต์ และโรมัน
              ฮิโรโดตัสแห่งแฮลิคาร์แนซัส (Gerodotus of Halicarnassus ประมาณ 484 ถึงระว่าง 430 และ 420 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกยกย่องว่า นักรังวัดชาวอียิปต์มีส่วนให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตในสมัยแรกเริ่ม
              หลักฐานที่เชื่อว่ามนุษย์มีความรู้ทางเรขาคณิตมากกว่า 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ จารึกแผ่นดินเหนียวในแคว้นเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นของชาวสุเมเรียนอ( 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) และชาวแบบิลอน (2,000 - 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) หลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าพวกเขามีความรู้ต่อไปนี้ซึ่งมีทั้งถูกและผิด
  สูตรความยาวเส้นรอบวงของวงกลม  = 3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง
  สูตรพื้นที่วงกลม                                 = 1/12 ของกำลังสองของเส้นรอบวง
  ปริมาตรของทรงกระบอก                    = พื้นที่ฐาน X สูง